วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554


วิธีการก่อสร้างสะพานคอนกรีตในประเทศไทย
ณัฐวุฒิ อัศวสงคราม
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
1. การก่อสร้างสะพานแบบคานรูปตัวไอ (I-Girder)
การก่อสร้างสะพานคอนกรีตในประเทศไทยมีมานานกว่าหลายสิบปี ตั้งแต่สะพานข้ามคลองขนาดเล็ก 10-20 เมตร ไปจนถึงสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาขนาด 200 เมตร ในบทความนี้ผู้เขียนอยากนำเสนอถึงวิธีการก่อสร้างสะพานคอนกรีตขนาดความยาวช่วงประมาณ 30-40 เมตร เนื่องจากเป็นสะพานที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปและยังมีความน่าสนใจในแง่ของวิธีการก่อสร้าง โดยจะขอนำเสนอวิธีการก่อสร้างแบบต่างๆ ที่นิยมทำกันในปัจจุบัน ตัวอย่างของสะพานที่มีความยาวช่วงดังกล่าว เช่น สะพานรถไฟฟ้า ทางด่วน และทางแยกต่างระดับ
การก่อสร้างสะพานวิธีนี้ใช้วิธีหล่อคานรูปตัวไอจากที่โรงงาน จากนั้นจะขนส่งคานมายังสถานที่ก่อสร้าง  ยกคานขึ้นติดตั้งบนคานหัวเสา เมื่อติดตั้งคานแล้วจึงทำการติดตั้งแบบหล่อพื้นคอนกรีตบนหลังคาน จัดวางเหล็กเสริม และเทพื้นคอนกรีต สะพานรูปแบบนี้ถึงแม้จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก แต่เนื่องจากเป็นรูปแบบสะพานที่มีการก่อสร้างมาหลายสิบปีจึงเป็นวิธีการที่ผู้รับเหมามีความคุ้นเคยดี และมีเครื่องจักรพร้อมในการก่อสร้าง ผู้รับเหมาจึงมักมีความรู้สึกว่าเป็นการก่อสร้างที่ไม่ยุ่งยากนัก
1. การก่อสร้างสะพานแบบคานรูปกล่อง (Box-Girder) หล่อในที่
การก่อสร้างวิธีนี้โดยทั่วไปมักเป็นโครงสร้างสะพานที่มีคานเป็นรูปกล่อง การก่อสร้างจะใช้นั่งร้านแบบเคลื่อนที่ได้ลักษณะเป็นโครงถักเหล็กขนาดใหญ่รองรับคานขณะทำการก่อสร้าง นั่งร้านดังกล่าวจะมีแบบหล่อเหล็กติดตั้งอยู่เมื่อหล่อคอนกรีตช่วงใดช่วงหนึ่งเสร็จแล้วนั่งร้านจะเคลื่อนที่ไปตามแนวสะพานด้วยระบบไฮโดรลิก การก่อสร้างแบบนี้จะสามารถทำการก่อสร้างข้ามถนนเดิมได้โดยไม่มีการกีดขวางการจราจรด้านล่าง หรืออาจเลือกใช้การก่อสร้างแบบก่อสร้างนั่งร้านรองรับตัวสะพานจากระดับดินในขณะทำการก่อสร้าง วิธีนี้จะประหยัดค่าก่อสร้างได้มากกว่าแบบใช้นั่งร้านเคลื่อนที่ได้และไม่ต้องอาศัยเครื่องจักรขนาดใหญ่มากนัก แต่จะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างนานขึ้นเนื่องจากการก่อสร้างนั่งร้านยุ่งยากกว่าและยังต้องมีการจัดการจราจรถนนด้านล่างในขณะทำการก่อสร้าง
  1. 1. การก่อสร้างสะพานแบบคานรูปกล่อง (Box-Girder) หล่อสำเร็จ
การก่อสร้างสะพานวิธีนี้ผู้รับเหมาจะต้องมีโรงงานสำหรับหล่อชิ้นส่วนสะพานเป็นชิ้นๆ แล้วขนส่งไปยังสถานที่ก่อสร้างเพื่อประกอบเป็นรูปสะพาน ในการประกอบคานจะใช้โครงเหล็กขนาดใหญ่ติดตั้งบนเสาตอม่อตามแนวสะพาน โครงเหล็กดังกล่าวจะแขวนชิ้นส่วนสะพานเหล่านี้เพื่อประกอบและติดตั้งสะพานเป็นช่วงๆ ไปเมื่อประกอบสะพานแล้วเสร็จแต่ละช่วงตัวโครงเหล็กจะเคลื่อนที่ไปประกอบช่วงสะพานถัดไป มีหลายโครงการที่ใช้การก่อสร้างรูปแบบนี้ อาทิเช่น สะพานทางด่วนขั้นที่ 2 สะพานรถไฟฟ้า BTS ทางแยกต่างระดับรังสิต
ก่อนจบบทความผู้เขียนได้สรุปและเปรียบเทียบวิธีการก่อสร้างทั้งสามแบบข้างต้นไว้ดังตารางด้านล่างสำหรับผู้ที่สนใจเพื่อจะได้นำไปใช้ศึกษาต่อไปครับ

ที่มา :

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น