วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

การวางแผนและก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน
         งานก่อสร้างใต้ดิน ( Underground  Structure) หรือการขุดเจาะอุโมงค์ ( Tunnel ) ได้มีความนิยมและถูกใช้อย่างแพร่หลายในหลากหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งยังมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและวิธีการก่อสร้างอยู่เสมอ การก่อสร้างงานอุโมงค์ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปัจจุบันประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับงานอุโมงค์มากขึ้น จะเห็นได้จากโครงการรถไฟฟ้ามหานครที่จะมีส่วนต่อขยายเพิ่มขึ้น และในอนาคตประเทศจีนศึกษาความเป็นไปได้ที่จะทำพื้นที่ทำการค้า บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม เขตป้อมปราบฯ กทม. หรือ "โบ๊เบ๊ริมคลอง" ให้กลายเป็นตลาดใต้ดิน

1. เหตุผลที่ต้องมีการก่อสร้างใต้ดิน 
     1. Land  use and  Locational  reasonsพื้นที่มีจำกัด
         เพื่อประโยชน์การใช้สอยพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดและต้องการคงสภาพทิวทัศน์เดิม  รวมทั้งสามารถใช้พื้นที่บนผิวดินทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ตามปกติ เช่น การก่อสร้างอุโมงค์ลอดแม่น้ำ ไม่ทำให้ทิวทัศน์บริเวณนั้นเปลี่ยนแปลง และไม่มีผลกระทบต่อการเดินเรืออีกด้วย หรือการก่อสร้างอุโมงค์ลอดผ่านใต้โบราณสถาน อาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สวนธารณะ ซึ่งสามารถคงสภาพเดิมที่มีความสำคัญไว้ได้
   
กรณีตัวอย่าง เช่น
- Tokyo-lidabashi Station (Japan) เนื่องจากประเทศญี่ปุ่น มีภูมิประเทศเป็นเกาะ เมื่อเมืองมีการขยายตัวมากขึ้น แต่พื้นที่ของประเทศมีจำกัด ดังนั้นการก่อสร้างใต้ดินจึงเป็นทางเลือกที่ดี อีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการก่อสร้างอาคารสูง

     2. Isolation considerations การแยกตัวออก
         เป็นการก่อสร้างเพื่อเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ จึงจำเป็นต้องแยกออกไปจากพื้นที่ใช้งานทั่วไปของชุมชน เพื่อสะดวกในการควบคุม สามารถจำกัดขอบเขตและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ง่าย หรือเพื่อป้องกันตัวเองจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ไม่ปกติ  เช่น การก่อสร้างอุโมงค์เพื่อกักเก็บน้ำมัน สร้างอุโมงค์เพื่อทำเป็นสถานที่สำหรับงานวิจัยต่างๆ   สร้างอุโมงค์เพื่อรองรับน้ำเวลาน้ำท่วม
กรณีตัวอย่าง เช่น 
-  โรงพยาบาลใต้ดิน ในเหมืองPotash (Ural-Russia) เนื่องเชื่อว่า แร่ดังกล่าวสามารถรักษาโรคภูมิแพ้ได้
-  Underground swimming pool(Finland) สระว่ายน้ำใต้ดิน สร้างเพื่อให้นักว่ายน้ำสามารถว่ายน้ำได้    ขณะที่อากาศภายนอกเกิดมีหิมะตกหรืออากาศที่หนาวเย็น


- Gjovik Olympic Mountain Hall (Norway )สำหรับจัดคอนเสิร์ต,จัดงานนิทรรศการต่างๆ

- Above – ground structure are more sensible to earthquake than underground ones Kobe   Earthquake(Japan-1995) กรณีแผ่นดินไหวที่ Kobe จะเห็นว่าโครงสร้างที่อยู่เหนือพื้นดิน ได้รับความเสียหายมาก กว่าโครงสร้างที่อยู่ใต้ดิน

 
     3. Environmental preservation เพื่อรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม
         เพื่อรักษาทรรศนียภาพ ความสวยงามในทางสถาปัตยกรรม สถานที่ท่องเที่ยวแหล่งที่น่าใจให้คงอยู่ และมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุดกรณีตัวอย่าง เช่น
  -    ที่จอดรถใต้ดินที่ France และSydney Opera House (Australia) เนื่องจากที่จอดรถด้านบนไม่พอเพียง รวมทั้ง เพื่อให้ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และไม่บดบังทรรศนียภาพความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญต่างๆด้านบน

-    ไฮเวย์และอุโมงค์ทางด่วนลอดใต้พื้นที่ที่เป็นสภาพป่าในประเทศฟินแลนด์ ก่อสร้างเพื่อให้มีทางเชื่อมต่อระหว่างป่าเข้าหากัน เพื่อให้สัตว์ป่าหรือมนุษย์สัญจรได้รวมทั้งการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม

      Motorway Tunnel (Finland)

-   The Green Heart Tunnel ( Netherlands ) ก่อสร้างอุโมงค์ลอดพื้นที่ที่มีสภาพเป็นทุ่งนา


     4. Topographic reasons การก่อสร้างซึ่งคำนึงถึงทัศนียภาพ
          สภาพพื้นที่ที่ต้องการก่อสร้างบางครั้งอาจจะต้องรักษาสภาพบริเวณนั้นไว้ เพื่อความสวยงาม, เพื่อให้เป็นประวัติศาสตร์ หรือยากต่อการก่อสร้าง จึงจำเป็นต้องใช้การก่อสร้างอุโมงค์เพื่อรักษาสภาพให้เหมือนดังเดิมหรือให้ง่ายต่อการก่อสร้างแบบธรรมดา อาทิเช่นกรณีตัวอย่าง เช่น
- The Gothard Base Tunnel (Switzerland) ติดปัญหาเนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาตลอดพื้นที่ จึงได้ทำการก่อสร้างอุโมงค์เพื่อย่นระยะทางการก่อสร้าง และอุโมงค์นี้มีความยาวที่สุดในโลก (ราว 57 กม.) คาดว่าจะแล้วเสร็จ ค.ศ. 2018

-  เส้นทางรถไฟไปสู่ตอนใต้ของสวิสเซอร์แลนด์ซึ่งมีระยะทางอุโมงค์ 15 กม.


-   Trans Tokyo Bay Highway (Japan) เป็นโครงสร้างหลักข้ามอ่าวโตเกียวระหว่าง 2 ผั่งรอดใต้ทะเลซึ่งประกอบด้วยสะพานยาว  4.4 ก.ม. จากเกาะ และอุโมงค์ ยาว 9.5 ก.ม. เส้นผ่านศูนย์กลางมีขนาดใหญ่ที่สุดในงานอุโมงค์ใต้มหาสมุทรมีเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกขนาด Æ 13.9 ม. และภายใน 11.9 ม. ซึ่งงานก่อสร้างนี้แสดงถึงความท้าทายในการต้านแรงดันน้ำและแรงดันดิน และป้องกันน้ำทะเลรั่วซึม และต้องป้องกันแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ซึ่งได้นำระบบน๊อตยาว (long bolt system) นำประกอบใน segments และการยาแนวแบบพิเศษ  และ ก่อสร้างเชื่อมระหว่าง2 ฝั่งรอดใต้ทะเล

Plan & Profile of Trans-Tokyo Bay Highway

-   The Noord Tunnel Amsterdam (The Netherlands) เป็นการก่อสร้างอุโมงค์ลอดแม่น้ำ เพื่อไม่บดบังความสวยงามของสะพานเดิม


  -   The new Antwerp Central Station on the Paris-Amsterdam high speed rail link (Belgium ) เป็นการก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดิน เพื่อก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าในแนวการก่อสร้างผ่านพิพิธภัณฑ์ซึ่งมีมากว่าร้อยปี ซึ่งในการก่อสร้างจะรักษาให้คงอยู่นั้น จึงจำเป็นต้องทำการก่อสร้างโดยใช้อุโมงค์

  
   5. Societal benefits เหตุผลทางสังคม
         งานก่อสร้างอุโมงค์เพื่อประโยชน์ทางสังคม หมายถึง งานอุโมงค์ที่ก่อสร้างขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้ประชาชนหมู่มาก หรือตอบสนองโครงสร้างพื้นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ประชาชนในประเทศนั้นดีขึ้น เช่น งานอุโมงค์ส่งน้ำ งานอุโมงค์ระบายน้ำเสีย เป็นต้น
กรณีตัวอย่าง เช่น
- Metro West Water Supply Tunnel  เป็นโครงการอุโมงค์ส่งน้ำเพื่อให้บริการน้ำประปาใน Boston  ของการประปา Massachusetts Water Resources Authority (MWRA) ความยาวทั้งสิ้น 28.3 กิโลเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 4.3 เมตร ความสามารถในการให้บริการ 1.89 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน เปิดใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2003


  - Waste water treatment plant in Helsinki (Finland) เมื่อมีคนใช้น้ำประปาจำนวนมาก น้ำเสียก็มีมากขึ้น จึงต้องมีการทำระบบบำบัดน้ำเสียใต้ดิน


       6. Underground can impress & Show history of a nation            งานก่อสร้างใต้ดินหรืองานก่อสร้างอุโมงค์สร้างความภาคภูมิใจและแสดงถึงประวัติศาสตร์ของชนชาตินั้นๆได้  เนื่องจากงานก่อสร้างอุโมงค์นั้น เกิดขึ้นจากงานด้านวิศวกรรมและด้านสถาปัตยกรรม  แต่ละยุคสมัยจะมีการออกแบบงานด้านสถาปัตกรรมที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นงานก่อสร้างอุโมงค์จึงเป็นสิ่งหนึ่ง ที่สามารถบอกเล่าเรื่องราว และวิวัฒนาการของงานก่อสร้างอุโมงค์ของประเทศนั้นได้ กรณีตัวอย่างเช่น -     รถไฟใต้ดินใน Moscow
    - รถไฟใต้ดินใน London
    2. งานสัมมนา ณ กรุง Budapest ปี 2009             การประชุม ITA – AITES ( ITA : International Tunneling and Underground space Association, AITES : Association des Tunnels ET DE L’Aspace Souterrain) ครั้งที่ 35 ณ กรุงบูดาเปสต์ สาธารณรัฐฮังการี เมื่อวันที่ 22-29 พ.ค.2552  มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมกว่า 40 ประเทศ  รวมทั้งตัวแทนของประเทศไทย นำโดย ผศ.ดร.สุชัชวีร์  สุวรรณสวัสดิ์             ในโอกาสนี้ ประเทศไทยได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานอุโมงค์โลก 2012 ( World Tunnel Congress) และชนะการโหวต มีคะแนนเหนือกว่าประเทศจีน ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก   
                                  
    3. วิธีการการก่อสร้างงานอุโมงค์ ( Tunneling Method)         งานก่อสร้างใต้ดิน แบ่งได้เป็น 2  ประเภท ได้แก่  Soft Ground Tunneling และ Rock Tunneling ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ Soft Ground Tunneling 1.  Hand Excavation คือการก่อสร้างแบบใช้แรงงานคนในการขุดเจาะอุโมงค์ เป็นการก่อสร้างอุโมงค์ในยุคแรก ที่ยังไม่มีอุปกรณ์สำหรับป้องกันดินถล่ม และใช้คนในการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก
    2.  Shield Tunneling  การก่อสร้างอุโมงค์ที่มีอุปรณ์สำหรับป้องกันดินถล่มขณะปฏิบัติงาน  Marc Isambard Brunel เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์ เครื่องมือสำหรับเจาะอุโมงค์แบบ Shield Tunneling ขึ้นเรียกว่า “BRUNEL’s Shield” เพื่อใช้ในการเจาะอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำแม่น้ำเทมซ์ในประเทศอังกฤษ นอกจากนี้แล้วยังมีแนวคิดที่จะสร้างหัวเจาะชนิดต่างๆที่เป็นต้นแบบอีกเช่น Marc Brunel “compartment”shield(1818) และ Marc Brunel “screw”shield(1818)
    จนกระทั่งปี 1869 นาวาเอก Greathead ได้สร้างหัวเจาะที่ชื่อว่า “Greathead Shield-Air Lock” มีลักษณะเป็นทรงกลมขนาดใหญ่คนสามารถเข้าไปอยู่ในหัวเจาะได้ และมีการปรับความดันภายใน หลังจากนั้นได้มีการพัฒนาหัวเจาะในรูปแบบต่างๆ จนถึงปัจจุบัน
    3.  Conventional Method ( Mining or NATM ) เป็นวิธีการขุดที่มีลักษณะคล้ายกับการขุดเหมืองแร่โดยการขุดจากข้างในทีละส่วน จากนั้นจะทำการเกราท์( Grouting ) และเสริมเหล็กตามรูปแบบขั้นตอนการก่อสร้างอุโมงค์ ซึ่งรูปร่างของอุโมงค์จะมีลักษณะเป็นรูปเกือกม้า(horse-shoe shape ) เหมาะสำหรับการทำสถานีใต้ดินเป็นส่วนใหญ่ โดยวิธีนี้เป็นวิธีการที่ไม่ต้องใช้หัวเจาะในการขุดอุโมงค์
                                  
    Subway ที่ Munich , Germany 1982
    4.  Immersed Tunnel เป็นวิธีการทำอุโมงค์กรณีที่มีการขุดผ่านแม่น้ำ โดยใช้การหล่อคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีลักษณะเป็นบล๊อค และมีการกักกั้นน้ำเพื่อให้มีพื้นที่ก่อสร้าง
             ที่มา :

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น