โดยดร. บวรพันธุ์ วงศ์อนันต์FREYSSINET (THAILAND) Ltd.วิธีการก่อสร้างแบบ Balance Cantilever
บทนำ
วิธีการก่อสร้างแบบ Balance Cantilever ได้รับความนิยมภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 หลัง
จากสะพานหลายแห่งได้ถูกทำลายลงจากสงคราม
ประกอบกับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านคอนกรีตอัดแรงเป็นผลให้วิธีการก่อสร้าง ประเภทนี้ถูกใช้
นำมาก่อสร้างบ่อยครั้ง
วิธีการก่อสร้างสะพานแบบดังกล่าวจะมีลักษณะการก่อสร้างเพิ่มส่วนยื่นออกไป ทั้งสองข้าง
โดยในแต่ละส่วนที่ยื่นออกไป จะมีการดึงลวดอัดแรง เพื่อต้านกับน้ำหนักของส่วนยื่น เมื่อขั้นตอนการก่อสร้างถึงช่วงหล่อชิ้นสุดท้าย ก็จะทำการดึงลวดช่วงกลาง
เพื่อรับน้ำหนักที่เกิดจากโครงสร้างต่อเนื่อง (ดังแสดงในรูปที่ 1 และรูปที่ 2)
รูปที่ 1 แสดงวิธีการก่อสร้างแบบ Balance Cantilever
 รูปที่ 2 แสดงวิธีการก่อสร้างช่วงสุดท้าย ข้อดีของการก่อสร้างสะพานด้วยวิธี Balance Cantilever มีหลายประการเช่น
- ไม่ต้องการนั่งร้านค้ำยัน (Scaffolding) ที่ต้องใช้ค้ำจากระดับพื้นล่าง ซึ่งเหมาะสำหรับในกรณีเป็นสะพาน
ข้ามแม่น้ำหรือข้าม ถนนที่มีการจราจรหนาแน่น - ลดปริมาณการใช้แบบหล่อคอนกรีต (Formworks) และนั่งร้านค้ำยัน (Scaffolding) เนื่องจาก
การหล่อคอนกรีตทำครั้งละชิ้นส่วน (Segment) และใช้แบบหล่อซ้ำได้อีก - ประสิทธิภาพการทำงานดีกว่าเนื่องจากระบบการก่อสร้างเป็นแบบที่ซ้ำไปมา ซึ่งจะทำให้คนงานมีความ
ชำนาญมากขึ้นตามระยะเวลา - การก่อสร้างสามารถก่อสร้างได้หลายช่วงพร้อมๆ กัน ในปัจจุบันการก่อสร้างสะพานที่นิยมใช้ขึ้นกับช่วงความยาวสะพาน จากสถิติที่เก็บรวบรวมมาจัดแบ่งวิธีการก่อสร้าง
ได้ดังนี้
 รูปที่ 3 แสดงชนิดสะพานกับช่วงความยาวสะพานที่เหมาะสมหลักการและแนวคิด (CONCEPT) ลักษณะการก่อสร้างด้วยวิธี Balance Cantilever มีส่วนประกอบของโครงสร้างที่สำคัญดังนี้
1. ชิ้นส่วนของคอนกรีต - Pier segment คือ ชิ้นส่วนของคอนกรีตที่อยู่บริเวณหัวเสา - Segment คือ ชิ้นส่วนของคอนกรีตทั่วไปที่หล่อยื่นออกจากบริเวณหัวเสา - Closure pour คือชิ้นส่วนของคอนกรีตที่ตำแหน่งหล่อช่วงเชื่อมต่อสุดท้าย
2. ลวดอัดแรง (ดังแสดงในรูปที่ 4) - Cantilever cables คือลวดที่ใช้เพื่อรับแรงจาก moment ลบที่ช่วงหัวเสาโดยเฉพาะ
ช่วงก่อสร้างที่มีการยื่นของสะพานมากๆ - Span cables คือลวดที่เสริมในช่วงกลางสะพานเพื่อรับ moment บวกที่เกิดหลังจากที่มี
การต่อเชื่อมช่วงกลาง (Closure segment) แล้ว - Continuity cables คือลวดที่ยาวต่อเนื่อง เพื่อเสริมให้โครงสร้างมีพฤติกรรมแบบคานต่อเนื่อง
3. ชิ้นส่วนของโครงสร้างพิเศษที่ใช้ในการก่อสร้าง - Traveller Formwork - นั่งร้าน (Scaffolding) - Closure beam - Temporary Pier
 รูปที่ 4 แสดงตำแหน่งของลวดอัดแรงวิธีการก่อสร้างด้วย Balance Cantilever จัดได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะของวิธีการยื่นของโครงสร้าง
- วิธีสมมาตร (Symmetrical Method) จะทำการก่อสร้างยื่นทั้ง 2 ข้าง พร้อมๆ กัน
วิธีนี้จะง่ายในขั้นตอนการออกแบบ แต่ในขั้นตอนการทำงานแล้วจะต้องการกำลังคนและ
อุปกรณ์ในการทำงานในเวลาเดียว กัน และต้องการพื้นที่บริเวณหัวเสามากพอที่จะ
ติดตั้งFormwork Traveller ทั้ง 2 ตัวได้ในเวลาเดียวกัน
วิธีอสมมาตร (Asymmetrical Method) จะ ทำการก่อสร้างยื่นทีละข้าง เพื่อลดพื้นที่การทำงานบริเวณ
หัวเสาและกระจายการทำงานและแรงงานออกไปไม่ พร้อมๆกัน แต่ในการออกแบบจะต้องคำนึงถึงแนว
การเสริมลวดอัดแรงและน้ำหนักที่ก่อสร้างไม่ พร้อมกันนี้ด้วย
รูปที่ 5 แสดงวิธีการก่อสร้าง
การวิเคราะห์โครงสร้างและผลจากการก่อสร้างในแต่ละช่วงเวลา
เนื่อง จากการก่อสร้างจะทำการหล่อชิ้นส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในแต่ละชิ้นส่วนก็จะทำการอัดแรง
ทำให้หน่วยแรงที่วิเคราะห์จะต้องพิจารณาผลการอัดแรงที่มีอยู่ในโครงสร้าง เดิม บวกกับการอัดแรงครั้งใหม่
จึงจะได้หน่วยแรงลัพธ์สุดท้ายที่หน้าตัดนั้นๆ ซึ่งเมื่อทำการก่อสร้างเพิ่มส่วนยื่นไปเรื่อยๆจนถึงส่วนของ
การหล่อชิ้นส่วน หล่อปิด (Closure pour) และทำการดึงลวดอัดแรงของลวดช่วงกลาง (Span Tendons) ทำ
ให้โครงสร้างเปลี่ยนสภาพจากช่วงยื่นเป็นช่วงต่อเนื่องใช้รับน้ำหนักที่สภาวะ ใช้งาน ดังนั้นการวิเคราะห์
โครงสร้างจะต้องคำนึงถึงผลดังกล่าวในการคำนวณ เพราะค่าหน่วยแรงที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการก่อสร้าง
อาจมีค่าวิกฤติกว่าในสภาวะการใช้งานก็เป็นได้
การวิเคราะห์และออกแบบ
การวิเคราะห์โครงสร้างของวิธีการก่อสร้างด้วย Balance Cantilever จะ พิจารณาถึงสภาพการก่อสร้างซึ่งค่อยๆ
เพิ่มส่วนยื่นตามเวลา ซึ่งสภาพน้ำหนักที่กระทำต่อตัวโครงสร้างจะเปลี่ยนไปตามสภาพโครงสร้างด้วย เช่น
ตำแหน่งของน้ำหนักจาก Traveller, น้ำหนักของชิ้นส่วน ที่เทใหม่ เป็นต้น จากสภาพน้ำหนักที่แตกต่างกัน
ในแต่ละช่วงเวลานี้ เป็นผลให้ในการออกแบบจะต้องพิจารณาสภาพของการก่อสร้างและช่วงเวลาที่ใช้ใน
การก่อสร้างโดยละเอียด โดยคำนึงถึงผลการเสียรูปอันเนื่องมาจาก Creep และ Shrinkage ของคอนกรีตด้วย นอก จากการก่อสร้างที่เวลาต่างๆ จะมีผลกับน้ำหนักที่กระทำและหน่วยแรงที่เกิดขึ้นแล้ว ในส่วนของตัว
โครงสร้างคอนกรีตอัดแรง แรงในลวดอัดแรงก็จะมีการสูญเสียไปตามเวลาเช่นกัน สาเหตุของแรงในลวดที่
สูญเสียไปตามเวลาคือ Creep, Shrinkage, Relaxation, Elastic Shortening ซึ่งจะต้องนำมาพิจารณาด้วย
จำนวนและตำแหน่งลวด
จากผลการวิเคราะห์โครงสร้างเมื่อรวมผลของเวลาและขั้นตอนการก่อสร้างมาพิจารณาแล้ว การ
ให้จำนวนและตำแหน่งลวดจะขึ้นอยู่กับ Moment Diagram ซึ่งแนวทางการจัดลวดจะเป็นไป
ตาม Moment Diagram ดังกล่าว ดังแสดงในรูปที่ 6
รูปที่ 6 แสดงการจัดลวดกับ Moment ที่เกิดขึ้น
เสถียรภาพของโครงสร้าง
การก่อสร้างด้วยวิธี Balance Cantilever นี้ เสถียรภาพของโครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะการ
ขาดสมดุล (Overturning) จากสภาพน้ำหนัก ที่เกิดขึ้นไม่เท่ากันทั้งสองข้าง สภาพน้ำหนักที่เกิดจะต้องพิจารณามีดังนี้
- ผลแตกต่างของน้ำหนักโครงสร้างที่ตั้งสมมุติฐานไว้กับการก่อสร้างจริง - ผลของน้ำหนักของตัวโครงสร้างกรณีที่ก่อสร้างด้วยวิธี อสมมาตร (Asymmetrical) - ผลของน้ำหนักที่กระทำจากอุปกรณ์การก่อสร้างที่รู้ตำแหน่งแน่นอน เช่น Formwork Traveller - ผลของน้ำหนักที่กระทำจากการก่อสร้างที่มีการเคลื่อนย้าย เช่น วัสดุ, เครื่องมือ, คน ซึ่งจะต้อง
พิจารณาเป็นกรณีไป - แรงลม - สภาวะที่รับน้ำหนักมากขึ้น เนื่องจากผลของแรงกระแทก (Impact Effect)
หากผลของการพิจารณาพบว่าโครงสร้างไม่เสถียรภาพแล้ว จึงจำเป็นต้องเสริมเสถียรภาพของ
โครงสร้างด้วยวิธีต่าง ๆ ดังแสดงในรูปที่ 8

รูปที่ 7 แสดงแรงที่กระทำกับโครงสร้างเพื่อพิจารณาเสถียรภาพ

รูปที่ 8 แสดงวิธีการเสริมเสถียรภาพของโครงสร้าง ค่าการโก่งตัว
ค่าการโก่งตัวของวิธี Balance Cantilever จะ มีลักษณะโก่งลง เมื่อมีน้ำหนักจากการก่อสร้าง และจากน้ำหนักของคอนกรีตส่วนที่หล่อใหม่ แต่จะโก่งตัวขึ้นเมื่อมีการอัดแรง นอกจากนี้ผลจากการทรุดของฐานรากก็มีผลต่อระดับสะพานเช่นกัน ผลดังกล่าวจะเกิดการโก่งตัวเช่นนี้ซ้ำซ้อน จนกระทั่งถึงช่วงที่หล่อ Closure Pourซึ่งจะต้องให้ระดับที่ทำมาจาก 2 ฝั่งมีค่าใกล้เคียงกันเพื่อหล่อส่วน ปิดนี้ได้ ดัง นั้นการคำนวณค่าการโก่งตัวโดยละเอียดจึงจำเป็น เพื่อคาดการณ์ค่าการโก่งตัวให้รูปร่างของสะพาน ได้ตามที่ต้องการในสภาพใช้งาน การวัดค่าการโก่งตัวของแต่ละช่วงที่อัดแรง จะใช้เฝ้าดูแนวโน้มการโก่งตัวที่เกิดขึ้นจริงกับการโก่งตัวที่ ได้จากการ คำนวณ เพื่อนำไปปรับระดับแบบหล่อ ในการหล่อชิ้น (Segment) ต่อไป จนกระทั่งสามารถทำให้ระดับช่วงชิ้นส่วนหล่อปิด (Closure Pour) มีค่าใกล้เคียงกันทั้ง 2 ข้างให้มากที่สุด
การวัดและการตรวจสอบการก่อสร้าง
การ วัดและการตรวจสอบการก่อสร้างเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ควบคุมการก่อสร้างต้องให้ ความสำคัญ เนื่องจากจะมีผลถึงลักษณะรูปร่างของสะพาน ความปลอดภัยในระหว่างการก่อสร้าง และความแข็งแรงของ
โครงสร้างในสภาวะใช้งาน วิศวกรและผู้ปฏิบัติงานควรจะมีประสบการณ์และเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ จุดที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษในการควบคุมการก่อสร้าง ของสะพาน มี 2 จุด ที่สำคัญดังนี้
1. Traveller แบ่งเป็นแต่ละช่วงการทำงานดังนี้ - ขั้นตอนการติดตั้ง ควรตรวจสอบตำแหน่งของ Tie Down ต่างๆ การยึดโยงกันเซ (Bracing) ระดับล้อ ระดับราง ชิ้นส่วนหิ้ว (Hanger) แบบหล่อต่างๆ - ขั้นตอนการหล่อชิ้นส่วน ควรตรวจสอบระดับการหล่อตามแบบที่ให้ระดับไว้
ตาม Casting Curve - ขั้นตอนการเลื่อน ควรตรวจสอบว่า ได้ยึดรางอย่างถูกต้องเพียงพอและได้ถอด
ชิ้นส่วนแบบให้หลุดพ้นจากคอนกรีตเดิม ก่อนทำการเลื่อน ในทุกขั้นตอนจะต้องมีรายการตรวจสอบ (Check List) เพื่อให้มั่นใจว่าได้ปฏิบัติครบทุก
ขั้นตอนอย่างถูกต้อง
2. ระดับ ของสะพาน การคำนวณระดับของสะพานถึงจะคำนวณโดยละเอียดแล้ว แต่ในสภาพจริง
อาจไม่ตรงกับสมมติฐานที่ใช้ การวัดระดับตรวจสอบในแต่ละขั้นตอนจึงเป็นข้อมูลที่สำคัญ เพื่อใช้ในการปรับแก้ค่าสมมุติฐานที่ใช้ในการ
คำนวณเพื่อให้ระดับของสะพานให้ มีรูปร่างตามที่ต้องการ
รายละเอียดของแบบก่อสร้าง (Detailing)
การให้รายละเอียดตำแหน่งของลวด จะต้องพิจารณาประกอบไปกับช่องเปิดท่อ (Sleeve) ต่างๆ ซึ่งจะมีไว้สำหรับ การยึด Traveller และเหล็กเสริมต่างๆ โดยเฉพาะในแนว Web ที่อาจจะมาตัดกับแนวลวดได้
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น