วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554


มาตรฐานการควบคุมงานก่อสร้างอาคารเขียว 4
(Construction Management for Green Buildings 4)


แผนการป้องกันมลภาวะสำหรับการก่อสร้างอาคารเขียว
ในการก่อสร้างอาคารเขียวซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระมัดระวังการปลดปล่อยมลภาวะจากกิจกรรมก่อสร้างออกไปสู่ภายนอกเป็นพิเศษ หากเป็นไปได้จะต้องไม่มีการปลดปล่อยสิ่งแปลกปลอมใด ออกไปสู่ภายนอกสถานที่ก่อสร้างเลย (Zero Discharge) ทั้งด้านน้ำเสียที่ไหลออกมา และฝุ่นละออง ซึ่งนอกจากนี้ กิจกรรมการก่อสร้างที่เกิดเสียงรบกวนมักเป็นสิ่งที่ถูกควบคุมจากหน่วยงานราชการอย่างเคร่งครัดอยู่แล้ว ในขณะที่น้ำเสียที่มักเกิดจากการชะล้างของน้ำฝนมักเป็นสิ่งที่ถูกมองข้าม ด้วยเหตุนี้แผนการป้องกันมลภาวะจึงต้องถูกกำหนดขึ้นอย่างพิเศษโดยครอบคลุมรายละเอียดและวิธีการปฏิบัติดังต่อไปนี้


ด้านสถานที่และกิจกรรมก่อสร้าง (Site and Activity)

รายชื่อและตำแหน่งภาระรับผิดชอบของผู้ดำเนินการและควบคุมการก่อสร้าง


อธิบายกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น ได้แก่

- ประเภทของสิ่งก่อสร้างและวัสดุก่อสร้างที่จะนำเข้ามาภายใน site
- ลำดับและระยะเวลาที่จะก่อสร้างงานส่วนต่าง ๆ (Construction Schedule)
- รายละเอียดพื้นที่ดินที่จะก่อสร้าง และบริเวณพื้นที่ที่จะใฃ้กองเก็บวัสดุ หรือหล่อวัสดุสำเร็จรูปทั้งหมด
- แผนที่สถานที่ก่อสร้าง (Location Map) แสดงระบบระบายน้ำ บ่อน้ำ รวมทั้งทางน้ำธรรมชาติที่ใกล้เคียงทั้งหมด
- แผนผังสถานที่ก่อสร้าง (Construction Site Plan) แสดงพื้นที่ก่อสร้าง และรายละเอียดต่อไปนี้
- ทิศทางการไหลของน้ำฝน และระดับความชันของพื้นที่ภายหลังการปรับที่ดิน
- บริเวณพื้นที่ของผิวดินที่ถูกรบกวนจากการก่อสร้าง และพื้นที่ที่ไม่ถูกรบกวน
- บริเวณพื้นที่ก่อสร้างทั้งส่วนที่มีการก่อสร้างและไม่มีการก่อสร้าง
- บริเวณพื้นที่ที่จะมีการเก็บงานขุดดินให้เรียบร้อย (Stabilization)
- บริเวณพื้นที่ข้างเคียงที่ใช้กองเก็บวัสดุ อุปกรณ์ และขยะ
- บริเวณพื้นที่แหล่งน้ำใกล้เคียง
- บริเวณพื้นทีที่น้ำฝนจากสถานที่ก่อสร้างจะไหลลงแหล่งรับน้ำต่าง ๆ
- บริเวณพื้นที่ที่ Final Stabilization จะเกิดขึ้น
แผนการป้องกันมลภาวะจะต้องควบคุมไปยังบริเวณที่ใช้เป็นที่ก่อสร้างหล่อคอนกรีตสำเร็จรูป หรือ Asphalt ที่ใช้หน้างานก่อสร้างด้วย



ด้านการควบคุมเพื่อลดสารมลพิษ 
(Control to reduce pollutant)

- แผนการควบคุมมลภาวะต้องแสดงการควบคุมสารมลพิษจากการก่อสร้างที่จะเข้าไปปนเปื้อนกับน้ำฝนที่ไหลออกจากสถานที่ก่อสร้างโดยแต่ละกิจกรรมก่อสร้างจะต้องแยกแสดงมาตรการ ลำดับการจัดการ และบุคคลผู้รับผิดชอบ
- แผนการควบคุม ฯ ต้องแสดงขั้นตอนและลำดับระยะเวลาในการเก็บงานหน้าดิน Stabilization ทั้งในระหว่างการก่อสร้าง (Interim Stabilization) และหลังจากจบงาน (Final Stabilization)ไม่ควรใช้พื้นผิวที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ (Impervious Surface) เพื่อเก็บงานหน้าดิน เพราะจะเป็นการลดพื้นผิวรองรับน้ำ และทำให้ระบบการรับน้ำของดินเดิมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก


           
จะต้องมีการจดบันทึกวันเวลาที่สำคัญต่อไปนี้ - วันที่เริ่มทำ Grading หรือปรับเปิดหน้าดินเดิม 
- วันที่มีการหยุดทำงาน และเริ่มกลับมาทำงานก่อสร้าง
- วันที่เริ่มทำการตามมาตรการ Stabilization 
- แสดงการใช้โครงสร้างที่ช่วยเบี่ยงเบน หรือป้องกันการไหลของน้ำฝนผ่านหน้าดินที่ถูกเปิดออกในระหว่างการก่อสร้าง หลีกเลี่ยงการใช้โครงสร้างถาวรในบริเวณที่น้ำท่วมถึง
- แสดงการจัดการระบายน้ำฝนถาวร เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้นลง 
- แสดงวิธีการป้องกัน Solid Materials ที่จะไปปนเปื้อนกับน้ำฝน และถ่ายเทลงสู่ระบบระบายน้ำ หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ 
- ต้องแสดงวิธีการป้องกันการนำพาดิน หรือสิ่งแปลกปลอมจากการก่อสร้างติดล้อรถออกไปนอกสถานที่ก่อสร้าง อันจะก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองภายหลัง
- แสดงวิธีการกองเก็บวัสดุก่อสร้าง และขยะ อย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการถูกกัดเซาะชะล้าง และนำพาไปโดยน้ำฝน 
- แสดงวิธีการจัดการกับบริเวณที่ใช้ผสมคอนกรีต หรือยางมะตอย ทั้งภายในและภายนอกสถานที่ก่อสร้าง 
- แสดงวิธีการจัดการกับน้ำที่ไม่ใช่น้ำฝน โดยทำการลดการใช้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งน้ำดังกล่าวได้แก่


- น้ำจากมาตรการดับเพลิง
- น้ำจากการล้างพาหนะ
- น้ำฉีดป้องกันฝุ่นบนดิน
- น้ำประปา 
- น้ำทำความสะอาดอาคาร
- น้ำล้างพื้น Pavement
- น้ำ condensate จากเครื่องปรับอากาศ 
- น้ำใต้ดิน Groundwater หรือ Spring Water
- น้ำที่สูบจากฐานรากในระหว่างก่อสร้าง
- น้ำที่สูบจากงานขุดเจาะใต้ดิน
- น้ำรดน้ำต้นไม้ หรืองาน Landscape
- สิ่งตกค้างที่ถูกดักไว้ในบ่อดัก จะต้องถูกตักออกเมื่อมีปริมาณถึงครึ่งบ่อ

ที่มา : 


http://www.thaicontractors.com/content/cmenu/3/74/301.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น